For Physicians

ผู้ป่วยที่รับปรึกษาหรือส่งต่อ
ผู้ที่มีประวัติแพ้ยาแอสไพริน ยาแก้ปวดแก้อักเสบในกลุ่ม NSAIDs ยาพาราเซทตามอล ที่ต้องการได้รับการยืนยันการวินิจฉัย, หา safe alternative drugs, หรือต้องการทำ aspirin desensitizationผู้ที่เป็น aspirin-exacerbated respiratory diseases, aspirin-induced asthma, aspirin sensitivity with chronic rhinosinusitis and nasal polyposis, หรือ aspirin sensitivity in patients with coronary artery diseasesผู้ป่วยแพ้ยากลุ่ม cephalosporins ที่ต้องการยืนยันการวินิจฉัยหรือหาหลักฐานการแพ้ยาข้ามกลุ่ม (cross-reactivity) เพื่อหา safe alternative drugsในผู้ป่วย
ผู้ที่มีประวัติแพ้ยากลุ่มเพนนิซิลินและอมิโนเพนนิซิลลินแบบเฉียบพลัน ที่ต้องการได้รับการยืนยันการวินิจฉัยด้วยการทำ skin test ด้วย standardized reagents (benzylpenicilloyl-polylysine, penicilloate, amoxicillin, clavulanate) หรือตรวจวัดระดับของ specific IgE ต่อ penicilloyl G และ amoxicilloyl

ผู้ป่วยแพ้ยา allopurinol  หรือยากลุ่มยากันชัก (anticonvulsants)

ผู้ป่วยแพ้สารทึบรังสี (radiocontrast media)

ผู้ป่วยแพ้ยาหลายชนิด multiple drug allergy)
ปัญหาในการวินิจฉัยสาเหตุของการแพ้ยาแบบไม่เฉียบพลันชนิดรุนแรง (Stevens Johnson Syndrome, Toxic Epidermal Necrolysis, Drug Reaction with Eosinophila and Systemic Symptoms, Acute Generalized Exanthematous Pustulosis)


ผู้ป่วยที่มีปัญหาแพ้รุนแรงหลังได้รับวัคซีน หรืออาหาร เช่น อาหารทะเล ผักผลไม้ หรือแป้งสาลี





ผู้ป่วยที่มีอาการแพ้ยาระหว่างได้รับยาวัณโรคและต้องการหาชนิดของยาที่สามารถใช้ได้โดยปลอดภัย
ผู้ป่วยที่มีอาการแพ้รุนแรงระหว่างการผ่าตัดหรือได้รับยาชาเฉพาะที่

ผู้ป่วยผื่นลมพิษเรื้อรังที่ควบคุมอาการไม่ได้ด้วยยาต้านฮิสตามีน (antihistamine-resistant chronic urticaria) หรือสงสัยว่าอาจแพ้ของหมักดอง สีผสมอาหาร สารกันเสียในอาหาร หรือผงชูรส (food additives, food preservatives, and food coloring agents)

ผู้ป่วยที่มีอาการจมูกอักเสบเรื้อรังจากโรคภูมิแพ้ ภาวะหอบหืด หรือผิวหนังอักเสบเรื้อรังจากภูมิแพ้ที่ยากต่อการรักษา




ปรึกษาการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อสนันสนุนการยืนยันการวินิจฉัยประวัติแพ้ยา (in vitro test for drug allergy diagnosis) 

ผู้ที่มีอาการแพ้รุนแรงหลังได้รับยาที่จำเป็น เช่นยาเคมีบำบัดหรือยามุ่งเป้าในการรักษาโรคมะเร็ง เป็นต้น

ผู้ที่มีอาการสงสัยว่าจะมีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องโดยไม่ทราบสาเหตุ