การกระตุ้นอาการคันที่ผิวหนังอาจช่วยในการวินิจฉัยโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังจากภุมิแพ้ (atopic dermatitis)



              การวินิจฉัยภาวะผิวหนังอักเสบเรื้อรังจากภุมิแพ้ (atopic dermatitis) ในปัจจุบันขึ้นอยู่กับลักษณะอาการทางคลินิกทำให้ผู้ที่มีอาการไม่รุนแรงหรือไม่ตรงไปตรงมา (atypical) อาจประสบความยากลำบากในการวินิจฉัย 

   งานวิจัยจากประเทศเยอรมันพบว่าการกระตุ้นผิวหนังด้วยขนหมามุ่ย (cowhage) ซึ่งก่อให้เกิดอาการคันโดยไม่อาศัยฮิสตามีน (histamine-independent pruritus) และการสะกิดผิวหนังด้วยฮิสตามีน มีการตอบสนองต่างกันระหว่างผู้ที่มีผิวหนังอักเสบเรื้อรังจากภูมิแพ้และอาสาสมัครปกติมีสุขภาพดี  โดยได้ทำการศึกษาในผู้ป่วยผิวหนังอักเสบเรื้อรังจากภุมิแพ้จำนวน 22 รายและอาสาสมัครปกติจำนวน 18 รายมาทำการทาถูด้วยขนหมามุ่ยและทำการสะกิดด้วยฮิสตามีนเพื่อทำการเปรียบเทียบถึงความลักษณะ, รุนแรง, และระยะเวลาที่คันของตุ่มคันที่เกิดขึ้น พบว่าผู้ป่วยผิวหนังอักเสบเรื้อรังจากภุมิแพ้จะมีขนาดของผื่นแดงจากการสะกิดด้วยฮิสตามีนเล็กกว่า (P<0.01) แต่มีอาการคันหลังทาด้วยขนหมามุ่ยนานกว่าอาสาสมัครปกติที่มีสุขภาพดี (P<0.01)             

        ผลการวิจัยนี้สรุปว่าระยะเวลาการคันอย่างน้อย 30 นาทีหลังทาหมามุ่ยและขนาดของผื่นคันที่เส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่า 2 เซ็นติเมตรเป็นตัวบ่งชี้ที่ดีในการวินิจฉัยภาวะผิวหนังอักเสบเรื้อรังจากภูมิแพ้ โดยมีความไวและความจำเพาะในการวินิจฉัยอยู่ที่ 91% และ 94%  ตามลำดับ  การวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าอาการคันที่นานกว่าปกติเมื่อสัมผ้สหมามุ่ยแต่มีผื่นแดงตอบสนองต่อฮิสตามีนที่น้อยลงในผิวหนังที่ไม่มีรอยโรคในผู้ที่มีอาการสงสัย มีส่วนช่วยยืนยันการวินิจฉัยภาวะผิวหนังอักเสบเรื้อรังจากภูมิแพ้และควรได้รับการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป