ภาวะขาดวิตามินดี (25(OH)D deficiency)ได้รับการสันนิษฐานว่าอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหืดแต่ในอดีตยังไม่มีหลักฐานสนับสนุนแน่ชัด
มีการศึกษาในออสเตรเลียติดตามระดับวิตามินดีในวัยเด็กต่อการเกิดภาวะหอบหืด
ในเด็กที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดหืดและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดหอบหืด, ภาวะภูมิแพ้, การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ,
และ ระดับของ 25(OH)D ในพลาสม่าตั้งแต่แรกเกิดและเมื่ออายุ
0.5, 1, 2, 3, 4, 5, และ 10 ปี
ผลการศึกษาพบความสัมพันธ์เชิงผกผันระหว่างระดับของ 25(OH)D และความเสี่ยงของการเกิดความไวต่อสารก่อภูมิแพ้ (sensitization) ที่อายุ 0.5, 2, และ 3 ปี และพบว่าภาวะการพร่อง 25(OH)D มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความเสี่ยงของการเกิดหอบหืด เสียงหวีด (wheeze), ผิวหนังอักเสบเรื้อรัง (eczema) และความไวต่อสารก่อภูมิแพ้ที่อายุ 10 ปี โดยระดับของ 25(OH)D มีความผกผันกับการพบเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus สะสมในช่องปากและลำคอ (nasopharyngeal colonization) ในเด็กอายุน้อยและสัมพันธ์กับอายุของการเกิดไข้จากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนล่างเป็นครั้งแรกอีกด้วย
ซึ่งต่างก็เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญในการเกิดภาวะหืด การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าภาวะการพร่องวิตามินดี 25(OH)D ในเด็กเล็ก
เพิ่มความเสี่ยงของภาวะหืดเรื้อรัง โดยอาจส่งผลผ่านกลไกดังกล่าว ซึ่งความสัมพันธ์เหล่านี้ตรวจพบได้เมื่อระดับของ 25
(OH)D ได้รับการติดตามไปข้างหน้าเป็นระยะเวลายาวนานเพียงพอ