เซรุ่มต้านพิษงูเป็นอิมมูโนโกลบุลิน ที่ออกฤทธิ์ต้านพิษงูในผู้ป่วยที่ถูกงูกัด อย่างไรก็ตามมีผู้ป่วยบางรายเกิดอาการแพ้พิษงูแบบเฉียบพลันตั้งแต่ได้รับเซรุ่มในครั้งแรกเช่นเดียวกับผู้ป่วยบางรายที่แพ้ยา cetuximab ที่เป็น chimeric mouse-human antibodies สำหรับใช้ในการรักษามะเร็งบางชนิด โดยพบว่า galactose-alpha-1,3-galactose (alpha-gal) อาจเป็นสาเหตุของอาการแพ้แบบเฉียบพลัน (Ig-E mediated) ดังกล่าว โดยนักวิจัยจากเยอรมนีพบว่าผู้ที่มีประวัติแพ้ alpha-gal เช่นผู้ที่มีอาการแพ้เนื้อแดง (red meat allergy) มีผลการทดสอบผิวหนังเป็นบวกต่อเซรุ่มพิษงูและ cetuximab ถึงแม้ว่าในเซรุ่มต้านพิษงูจะมีระดับของ alpha-gal น้อยกว่า cetuximab ก็ตาม และพบว่าเซรุ่มต้านพิษงูที่ทำจากโปรตีนม้า,ไตหมู (pork kidney), และ cetuximab มีคุณสมบัติกระตุ้น basophils ในผู้ป่วยที่แพ้ alpha-gal ได้ แสดงให้เห็นว่าการแพ้สาร alpha-gal อาจเป็นสาเหตุสำคัญสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการแพ้แบบเฉียบพลันในผู้ที่มีอาการแพ้เซรุ่มต้านพิษงูที่ได้รับเซรุ่มดังกล่าวเป็นครั้งแรกเนื่องจากปฏิกริยาแพ้ข้ามกลุ่มจาก alpha-gal ดังกล่าว